Red Gems
RED-GEMs : REjuvenating DNA by GEnomic Stability Molecules
แพทย์ผู้มีคุณูปการต่อวงการแพทย์ของไทยในปัจจุบัน ท่านได้ค้นพบสิ่งที่มีคุณค่าแก่มนุษยชาติซึ่งเป็นนวัตกรรมต้านเซลล์ชรา
ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เป็นหัวหน้าทีมวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้มีการอธิบายไว้ว่า วิวัฒนาการจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมย้อนวัยอันน่าอัศจรรย์นี้ เริ่มต้นมาจากการศึกษาโครงสร้างของดีเอ็นเอ และมีการพบว่าในดีเอ็นเอของมนุษย์เรานั้น มีรอยแยก (Youth-DNA-gap) อยู่ในบริเวณที่มีดีเอ็นเอเมทิลเลชัน (DNA Methylation) และนั่นเป็นที่มาของการค้นพบ “มณีแดง”
ยามณีแดง ยาอายุวัฒนะ
ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร ผู้คิดค้นยามณีแดง อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เป็นหัวหน้าทีมวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
และยังกล่าวอีกว่า จากการศึกษาได้มีการค้นพบความหมายของรอยแยกดีเอ็นเอ โดยลักษณะของดีเอ็นเอจะมีลักษณะเป็นสายพอลิเมอร์ 2 เส้น มีการจับเป็นเกลียวคู่ ในขณะทำงานดีเอ็นเอเกลียวคู่นี้จะต้องมีการแยกจากกันกลายเป็นสาวเดี่ยว ส่งผลให้เกิดแรงบิดและทำให้สามารถถูกทำลายได้ง่าย และการที่ดีเอ็นเอถูกทำลายจากแรงบิดนี้ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นทำให้เซลล์เสื่อมสภาพ เมื่อมนุษย์มีอายุที่มากขึ้นรอยแยกดีเอ็นเอที่กล่าวถึงนี้จะลดลง ทำให้เกิดแรงตึงทั่วสายดีเอ็นเอ และทำให้ดีเอ็นเอไม่สามารถหมุนตัวได้ปกติอย่างที่ควรจะเป็นและทำให้ถูกทำลายได้ง่าย จึงสามารถพบรอยโรคในดีเอ็นเอของเซลล์ที่แก่ชราเยอะขึ้น และรอยโรคนี้จะส่งสัญญาณให้เซลล์หยุดการแบ่งตัวตามปกติ และก้าวเข้าสู่ความแก่ชรา และอาจนำไปสู่การกลายพันธุ์และก่อให้เกิดโรค
นอกจากนี้ ศ.นพ.อภิวัฒน์ ยังมีการเสริมเพิ่มเติมเกี่ยวกับรอยโรคในดีเอ็นเอของเซลล์แก่ชราว่า สัมพันธ์กับการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ อาทิเช่น ความดันโลหิตสูง กระดูกผุ รวมไปถึงเป็นเหตุให้ร่างกายเสื่อมประสิทธิภาพในการซ่อมแซมตัวเอง และมีผลทำให้แผลในผู้ป่วยเบาหวานหรือแผลไฟไหม้หายยากอีกด้วยโรคมะเร็งได้
อ้างอิงจากการวิจัย ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการกล่าวว่า โมเลกุลดีเอ็นเอ มีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพในหลายๆ ด้านด้วยกัน อาทิเช่น
สามารถช่วยเพิ่มข้อต่อดีเอ็นเอ ลบรอยโรคในดีเอ็นเอ ทำให้ดีเอ็นเอคืนสู่ความหนุ่มสาวหรือย้อนวัยได้
ช่วยรักษาโรคที่มีกลไกมาจากเซลล์เนื้อเยื่อ และอวัยวะเสื่อมสภาพที่พบได้ในคนแก่ชรา หรือผู้ที่มีอัวยะที่เสื่อมสภาพเร็วจากโรคบางชนิด อย่างเช่น โรคเบาหวาน และโรคที่ยังไม่สามารถทำการรักษาให้หายขาดได้ อย่างเช่น โรคสมองเสื่อม, โรคอัลไซเมอร์, ความดันโลหิตสูง, เส้นเลือดแข็ง, หัวใจวาย เป็นต้น
ช่วยรักษาโรคที่อวัยวะเสื่อมสภาพ จาก การถูกไฟไหม้, การถูกน้ำร้อนลวก, ปอดพังจากบุหรี่, ไตพังจากสารพิษ, ตับและสมองพังจากสุรา เป็นต้น
อาจใช้เพื่อป้องกันและรักษามะเร็งได้ โดยใช้การแก้ไขความแก่ชราของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ในการทำลายเซลล์มะเร็ง และป้องกันการเกิดมะเร็งโดยการลดโอกาสเกิดการแตกทำลายของดีเอ็นเอ ที่นำไปสู่การกลายพันธุ์ของยีน
ชะลอการเสื่อมของร่างกาย ในเด็กที่มีความผิดปกติของยีนซ่อมแซมดีเอ็นเอ
ใช้ป้องกันความพิการแต่กำเนิด
ใช้ในการเสริมความงาม สามารถช่วยให้ผิวพรรณและรูปร่างดูอ่อนกว่าวัย
ใช้ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เช่น การทำให้เนื้อสัตว์นุ่มแน่นขึ้น เป็นต้น
วัตถุประสงค์หลักเริ่มต้นในการค้นคว้าเกี่ยวกับ โมเลกุลมณีแดง (RED-GEMs : REjuvenating DNA by GEnomic Stability Molecules) คือ ต้องการใช้เพื่อรักษาโรคในคนชรา ต่อมาเมื่อทำการวิจัยพบว่า มณีแดงมีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพในหลายๆ ด้าน ซึ่งนอกเหนือไปจากการที่จะช่วยเพิ่มรอยแยกดีเอ็นเอ ทำให้ดีเอ็นเอชราสามารถกลับคืนสู่ความหนุ่มสาว และสามารถที่จะลบรอยโรคในดีเอ็นเอได้แล้ว ยังสามารถที่จะช่วยรักษาโรคอื่นๆ ที่มีการกล่าวมาในข้างต้นได้
มณีแดงจะมีหน้าที่ในการทำให้ดีเอ็นเอแข็งแรง ดังนั้นโรคที่เกิดจากการที่ดีเอ็นเอถูกทำลาย อย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีการติด COVID-19 มาก่อนและปอดมีการถูกทำลาย หรือหากในกรณีที่เกิดสงคราวนิวเคลียร์ และรังสีต่างๆ ได้เข้าไปทำลายดีเอ็นเอ ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มีความหวังอย่างยิ่งว่ามณีแดงจะสามารถใช้ในการรักษาได้ และนั่นจะทำให้มณีแดงมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อมนุษยชาติ
นอกเหนือไปจากนี้ ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ ผู้เป็นหัวหน้าทีมวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ยังมีการกล่าวถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากโมเลกุลมณีแดง โดยยกตัวอย่างการกล่าวถึงกรณีหนูทดลองวัยชรากลับมามีวัยเยาว์ว่า หนูที่ได้ทำการทดลองนั้นเรียนรู้ไวกว่าหนูวัยหนุ่มเสียอีก หมายความว่า มณีแดงนอกเหนือไปจากจะสามารถรักษาโรคได้แล้ว มณีแดงยังสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและความสามารถในการใช้สมองได้ และจากการวิจัยทดลองจนถึงตอนนี้ยังไม่พบผลข้างเคียงของมณีแดง
ผู้เผยแพร่ ต้องการเชิดชูเกียรติคุณของ ศ.ดร.นพ. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล https://biocian.com/health/what-is-red-gems/
สามารถอ่านวิจัยฉบับเต็ม ได้ที่: REjuvenating DNA by GEnomic Stability Molecules